ZIKA VIRUS, ตอน การระบาด ของซิก้าไวรัส
ZIKA VIRUS, ตอน การระบาด ของซิก้าไวรัส
รายการ หมอชัญวลี มีคำตอบ
ไลฟ์สดเป็น ทาง facebook.com/srisukhohospital
วันนี้เสนอตอน การระบาดของซิก้าไวรัส (ZIKA VIRUS) ในประเทศไทย
วันออกอากาศ 5 กรกฎาคม 2560 ทางเฟชบุ้ค SRISUKHO
ไข้ไวรัสซิกา
พญ . ชัญวลี ศรีสุโข เป็น สูติ-นรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพิจิตร และ โรงพยาบาลศรีสุโข วิทยากรรายการ “ชูรักชูรส”, นักเขียนให้กับนิตยสาร the standard, วรรณกรรม และเรื่องสั้น (chanwalee@srisukho.com)
ไข้ไวรัสซิกาเกิดจากการถูกยุงลายกัด ยุงปล่อยเชื้อไวรัสซิกาเข้ากระแสเลือด แต่ไม่ใช่เฉพาะยุงลาย คนก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสซิกาสู่คนได้ เป็นโรคที่ติดต่อกันทางสารคัดหลั่ง คือน้ำลายเลือด และน้ำอสุจิ ดังนั้นการจูบ และการร่วมเพศ สามารถแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากคนสู่คนได้ หลังรับเชื้อไวรัสซิกา ประมาณ 4-7 วัน คนที่รับเชื้อจะเกิดอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นเป็นปื้นแดงตามลำตัว แขนขา มีเยื่อบุตาอักเสบ ตาขาวเป็นสีแดงแต่ไม่มีขี้ตา ปวดข้อ อ่อนเพลีย อาจจะมีต่อมน้ำเหลืองโต อุจจาระร่วง
โรคนี้ไม่อันตรายจนเสียชีวิต
วิธีรักษา รักษาตามอาการ ก็หายได้เอง
แต่สำหรับคนท้อง…หากรับเชื้อไวรัสซิกามาแล้ว ยังไม่มียาหรือวิธีป้องกัน ในคนท้องต้องเฝ้าระวังการเกิดศีรษะเล็ก งานวิจัยพบว่า โอกาสเกิดศีรษะเล็กจากการติดเชื้อไวรัสซิกา พบมากตอนตั้งครรภ์ ก่อน12 สัปดาห์ และไม่ได้เป็นทุกราย พบได้ตั้งแต่ร้อยละ 1-30 จึงต้องตรวจติดตามขนาดของศีรษะทารกในครรภ์ โดยอัลตร้าซาวนด์ ทุก 4 สัปดาห์”
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly) วินิจฉัยจากการวัดรอบศีรษะของทารก(Occipitofrontal circumference)ได้ขนาดเล็กกว่าทารกที่อายุเท่ากัน โดยค่าต่ำกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ไทล์
แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะผิดปกติทุกราย ร้อยละ 15 เด็กปกติดี เป็นการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม แต่ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติ ที่ทำให้เกิดพัฒนาการล่าช้า เกิดอาการชัก อวัยวะต่าง ๆของร่างกายผิดปกติ โดยสาเหตุที่ทำให้ทารกศีรษะเล็ก จากการติดเชื้อซิกาในเมืองไทยเจอน้อยมาก ปัจจุบันมีการรายงานเพียงสองราย
สาเหตุที่ทำให้ทารกศีรษะเล็กมีมากมายดังนี้
1. ผิดปกติทางโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการทารกเด็กดาวน์ และอื่น ๆ (Monosomy, Trisomies ฯลฯ)
2. ทารกได้รับการบาดเจ็บที่สมอง ขณะมารดาตั้งครรภ์ หรือขณะคลอด
3. ทารกมีความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด เชน ไม่มีสมอง(Anencephaly) เป็นต้น
4. ทารกเป็นโรคทางเมตาโบลิค เช่นเบาหวาน ไธรอยด์ต่ำ ฟีนิวตีโตนูเรีย(Phenylketonuria) เป็นต้น
5. ทารกติดเชื้อ กลุ่มเชื้อโรคที่ทำให้ทารกศีรษะเล็ก มีความพิการของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตาบอดหูหนวก ใบหน้า กระดูก สมองพิการ ตับม้ามโต ฯลฯ นิยมเรียกว่า กลุ่ม TORCH ได้แก่ T= เชื้อท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosisเชื้อขี้แมว) O= Others เช่น เชื้อซิฟิลิส เชื้อเอดส์ ซิกาไวรัส เอ็นเทอโรไวรัส R= หัดเยอรมัน(Rubella) C=ไซโตเม็กกาโลไวรัส(Cytomegalovirus) H= เริม (Herpes)
6. พิษจากสิ่งแวดล้อม เช่นติดยาเสพติด บุหรี่ เหล้า ได้รับสารเคมีบำบัด ได้รับสารปรอท เป็นต้น
วิธีป้องกันการเกิดทารกศีรษะเล็ก
1. ก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อม หากมีปัญหาสุขภาพเช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคไธรอยด์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรดูแลให้ดีก่อนตั้งครรภ์
2. เมื่อตั้งครรภ์ควรละเว้นพฤติกรรมสุขภาพที่อาจทำให้ได้รับสารพิษหรือเชื้อโรค เช่นดื่มสุรา สูบบุหรี่ ติดยาเสพติด เลี้ยงหมา แมว พฤติกรรมเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. ฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าท้องหรือก่อนตั้งครรภ์สามเดือน ไปพบแพทย์ตามนัด ปฏิบัติตามคำแนะนำ หากมีอาการผิดปกติ เช่นมีไข้ ออกผื่น ไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์ทันที
ตอบคำถามสุขภาพผิว โดยทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ทางเฟชบุ้ค ไลฟ์
มีการตอบคำถามเป็นประจำ ที่ facebook.com/lorientasia
ของลอต ลอเรียนท์สงสัยต้องการสอบถาม – ปรึกษาปัญหาสุขภาพผิว โปรด แอดไลน์
@Lorientasia (มีเครื่องหมาย @ นำหน้านะคะ)